วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ

ศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนล่างที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เคยเป็นชุมชนที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปี นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่างๆ อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณนี้ ได้แก่ พวกส่วย ลาว เขมร และเยอ
ศรีสะเกษเดิมเรียกกันว่า เมืองขุขันธ์ เมืองเก่าตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหินในปัจจุบัน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ. 2302 สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีหลวงแก้วสุวรรณซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรภักดีเป็นเจ้าเมืองคนแรก ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายเมืองขุขันธ์มาอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน แต่ยังคงใช้ชื่อว่าเมืองขุขันธ์จนถึง พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดศรีสะเกษตั้งแต่นั้นมา จังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่ประมาณ 8,839 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดยโสธร และร้อยเอ็ด
ทิศใต้ ติดต่อประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย โดยมีเทือกเขาดงรักเป็นแนวกั้นเขตแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อจังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดอุบลราชธานี
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี เข้าเส้นทางโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) เข้าตัวเมืองศรีสะเกษ รวมระยะทางประมาณ 571 กิโลเมตร
รถประจำทาง จากกรุงเทพฯมีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2936 2852–66 สถานีขนส่งจังหวัดศรีสะเกษ โทร. 0 4561 2500
รถไฟ จากสถานีกรุงเทพฯ(หัวลำโพง) และสถานีบางซื่อ มีรถธรรมดา รถเร็ว และรถด่วน สายกรุงเทพฯ-ศรีสะเกษ ระยะทาง 515 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 223 7020 สถานีรถไฟศรีสะเกษ โทร. 0 4561 1525
การเดินทางในตัวเมือง มีรถสามล้อรับจ้างอยู่ทั่วไป นอกจากนั้นยังมีรถโดยสารจากตัวอำเภอเมืองศรีสะเกษไปยังอำเภอต่าง ๆ ทุกอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงด้วย ระยะทางไปยังจังหวัดใกล้เคียง อุบลราชธานี 61 กิโลเมตร / ยโสธร 159 กิโลเมตร / สุรินทร์ 143 กิโลเมตร
ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ
อำเภอกันทรารมย์ 26 กิโลเมตร
อำเภอกันทรลักษ์ 63 กิโลเมตร
อำเภอขุนหาญ 60 กิโลเมตร
อำเภอขุขันธ์ 49 กิโลเมตร
อำเภอน้ำเกลี้ยง 44 กิโลเมตร
อำเภอโนนคูณ 56 กิโลเมตร
อำเภอบึงบูรพ์ 42 กิโลเมตร
อำเภอเบญจลักษ์ 80 กิโลเมตร
อำเภอปรางค์กู่ 60 กิโลเมตร
อำเภอพยุห์ 21 กิโลเมตร
อำเภอไพรบึง 42 กิโลเมตร
อำเภอภูสิงห์ 28 กิโลเมตร
อำเภอเมืองจันทร์ 40 กิโลเมตร
อำเภอยางชุมน้อย 32 กิโลเมตร
อำเภอราษีไศล 38 กิโลเมตร
อำเภอวังหิน 35 กิโลเมตร
อำเภอศรีรัตนะ 37 กิโลเมตร
อำเภอห้วยทับทัน 37 กิโลเมตร
อำเภออุทุมพรพิสัย 24 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ 29 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอศิลาลาด 50 กิโลเมตร

แหล่งท่องเที่ยว


วัดสระกำแพงใหญ่
นารายณ์บรรทมสินธุ์นอนตะแคงซ้าย และตัวนาคเป็นแบบบาปวน และที่เท้าของ
พระนารายณ์ จะมีศักติ 2 องค์ คือ นางลักษมี และนางภูมิ

วัดสระกำแพงใหญ่
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านสระกำแพงใหญ่ ต.สระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
ก่อสร้างประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลายเป็นศาสนสถาน
ในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย และจากการพบเทพนพเคราะห์ชิ้นหนึ่งสันนิษฐานว่าใช้งาน
สะเดาะห์ ใช้วางอดกบัวแต่ละดอก และก็พบพระพุทธรูปนาคปรกองค์หนึ่งเป็นศิลปแบบนายน
จึงอาจสันนิษบานได้ว่าเมื่อพ้นสมัยศาสนาพราหมณ์ไปแล้วคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ที่เข้ามาปกครองแถบนี้ก็เปลี่ยนศาสนาจากศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาพุทธมหายาน

ศรีสะเกษ...สงบน่าท่องเที่ยว

พ.ศ.2325 ปีขาล จุลศักราช 1144 พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ     พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เซียงขัน) ได้บรรดาสักดิ์เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลข้อตั้งท้าวบุญจันทร์ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้ช่วยเจ้าเมือง อยู่มาวันหนึ่ง พระยาขุขันธ์ภักดี เผลอเรียกพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) ว่า"ลูกเชลย" พระยาไกรภักดีจึงโกรธและผูกพระยาบาทภายหลังมีพ่อค้าญวน 30 คน มาซื้อโคกระบือที่เมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีอำนวยความสะดวกและจัดที่พักให้ญวนตลอดจนให้ไพร่นำทางไปช่องโพย ให้พวกญวนนำโค กระบือไปยังเมืองพนมเปญได้สะดวก พระยาไกรภักดีฯ (บุญจันทร์) ได้กล่าวโทษมายังกรุงเทพฯ และโปรดเกล้า ให้เรียกตัวพระยาขุขันธ์ไปลงโทษ
และจำคุกไว้ที่กรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทนในปี พ.ศ.2325 นี้ พระภักดีภูธรสงคราม(อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ กราบบังคมทูลขอแยกจากขุขันธ์ไปตั้งที่บ้านโนนสามขาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโนนสามขาขึ้นเป็นเมือง "ศรีสระเกศ" ต่อมาปี พ.ศ.2328  ได้ย้ายเมืองศรีสระเกศจากบ้านโนนสามขา มาตั้ง ณ บ้านพันทาเจียงอี  อยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษทุกวันนี้
     พ.ศ.2342 มีโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์  เมืองสังฆะ เมืองละ 100 รวม 300 ยกทัพไปตีพม่าซึ่งยกมาตั้งในเขตนคร
เชียงใหม่ กองทัพไทยมิทันไปถึง กองทัพพม่าก็ถอยกลับ จึงโปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทยยกกลับ  พ.ศ.2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้งมีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน
     พ.ศ.2369 รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช(สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทรน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์(เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์
จับพระไกรภักดีศรีนครลำดวน (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม (มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี(ทศ)ยกกระบัตรกับกรม
การได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ
สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไปเมืองจำปาศักดิ์ จากนั้นมาเมืองขุขันธ์ ไม่มีข้าราชการปกครอง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะ ไปเป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้พระไชยเป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (นวน) เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมือง ให้ท้ายหล้า บุตรพระยาขุขันธ์(เซียงขัน) เป็นมหาดไทยช่วยกันรักษาเมืองขุขันธ์ต่อไป จากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเจ้าเมืองและนามเจ้าเมืองหลายครั้ง
     พ.ศ.2426 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาขุขันธ์(ปัญญา) เจ้าเมืองกับพระปลัด(จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาด
หนึ่งเชือกลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ  พ.ศ.2433 มีสารตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสระเกศ(ชื่อเดิม) ไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม)กับขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสระเกศ   พ.ศ.2435 โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลเมืองศรีสiะเกศขึ้นอยู่กับเมณฑลอีสานกองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธาณี
     พ.ศ.2445 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสานเป็น มณฑลอุบลมีเมืองขึ้น 3 เมืองคือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และสุรินทร์ ไม่ปรากฎชื่อเมืองศรีสระเกศ
สันนิษฐานว่าเมืองศรีสระเกศถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม  พ.ศ.2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์ (ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนืออำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ"เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)
     พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมืองเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึงเป็นเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2459 เปลี่ยนผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
     พ.ศ.2481 มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน